Blog

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Pelvic Inflammatory Disease : PID คือ การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง เช่น มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีสาเหตุหลากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่มักจะมาจากการมีเซ็กส์ที่ไม่ปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคหนองในแท้ หรือหนองในเทียมที่บริเวณช่องคลอดและปากมดลูก และหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดโรคลุกลามไปยังระบบอื่นๆ บริเวณอวัยวะเพศได้ จากสถิติจะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีขึ้นไป อุ้งเชิงกราน คืออะไร อุ้งเชิงกราน คือส่วนบริเวณช่องท้องของร่างกายที่สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือกระดูกเชิงกรานขึ้นไป และส่วนที่อยู่ต่ำกว่ากระดูกเชิงกรานลงมา ส่วนที่อยู่ต่ำกว่านั้นเราเรียกว่า “อุ้งเชิงกราน” ถ้ามองจากภายนอกก็จะเป็นบริเวณท้องน้อยนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาการของ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาการของภาวะนี้อาจจะยังไม่มีแสดงให้เห็นในช่วงแรกที่ติดเชื้อแล้ว แต่ถ้าหากมีการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น ก็อาจมีอาการ ดังต่อไปนี้ การตรวจวินิจฉัย ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เมื่อคุณไปพบแพทย์เฉพาะทาง นอกจากการซักประวัติเบื้องต้นแล้ว แพทย์อาจเลือกใช้หลายวิธีในการตรวจประกอบกัน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจริงๆ ได้แก่ ขั้นตอนการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หากผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบยังมีอาการที่ไม่รุนแรง แพทย์จะใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ชนิดรับประทาน แต่หากยาชนิดทานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร … Read more

ซิฟิลิส Syphilis สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ซิฟิลิส | สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก หนึ่งในการติดเชื้อดังกล่าวคือ “ซิฟิลิส” การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ซึ่งอาจมีผลร้ายหากไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้อง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับซิฟิลิส รวมถึงสาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการรักษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการป้องกันการแพร่เชื้อและการจัดการผลกระทบของมัน ในบทความนี้ เราจะศึกษาข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับซิฟิลิสเพื่อให้คุณได้รับภาพรวมอย่างละเอียด สาเหตุของ ซิฟิลิส ซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากแบคทีเรีย ทรีโปเนมาพาลลิดัม (Treponema pallidum) การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือทางปาก เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลเล็กน้อยหรือแผลของเยื่อบุตาอื่น ๆ ทั้งนี้ ซิฟิลิสสามารถติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อกรณีนี้จะเรียกว่า ซิฟิลิสโดยกำเนิด อาการของ ซิฟิลิส ซิฟิลิสใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มมีแสดงอาการ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ การวินิจฉัยของซิฟิลิส แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย อาการ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการตรวจร่างกายในเบื้องต้น ซึ่งแพทย์จะตรวจดูบริเวณอวัยวะเพศหรือส่วนอื่นของร่างกาย ว่าพบแผลหรือความผิดปกติใด ๆ ที่อาจเกิดจากซิฟิลิส ก่อนจะสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ … Read more

ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสร้ายทำลายตับ

ไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ไวรัสร้ายทำลายตับ

ไวรัสตับอักเสบซี เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกถูกเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้นเข้าทำลายตับ โรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่อาจนำไปสู่ความเสียหายของตับ และอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งในตับได้หากไม่ได้รับการรักษา ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกความซับซ้อนของโรคไวรัสตับอักเสบซี โดยสำรวจสาเหตุ อาการ และทางเลือกการรักษาต่างๆ ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร ไวรัสตับอักเสบซีคือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด ซี  (HCV) ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลันเป็นภาวะเจ็บป่วยระยะสั้นที่เกิดขึ้นประมาณ 6 เดือน หลังจากที่ผู้นั้นสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบซีครั้งแรก โดยปกติการติดเชื้อแบบเฉียบพลันจะไม่กลายเป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรังเสมอไป และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง เป็นภาวะเจ็บป่วยระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยังคงมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายของผู้นั้น ภาวะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถคงอยู่ได้ตลอดชีวิต และนำไปสู่สภาวะที่เป็นอันตรายต่อตับรวมถึงภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับในที่สุด ไวรัสตับอักเสบซี อาการเป็นอย่างไร? ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีจำนวนมากไม่มีอาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้นของโรค อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการดังต่อไปนี้ หากคุณมีอาการเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อได้อย่างไร อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ไม่ติดต่อทางการรับประทานอาหารร่วมกัน การใช้จามชามช้อนส้อมด้วยกัน การให้นมบุตร การกอด หรือการจูบ ร่วมถึงไม่ติดต่อผ่านการสัมผัส หรือไอ จาม รดกัน ใครบ้างที่ควรตรวจ ไวรัสตับอักเสบซี การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันไวรัสตับอักเสบซี การรักษา ไวรัสตับอักเสบซี ในอดีต ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคร้ายที่ยากจะรักษา แต่ปัจจุบัน … Read more

มูลนิธิเพื่อรัก และแอ็พคอม จับมือยกระดับสุขภาพดิจิทัลชุมชน

มูลนิธิเพื่อรัก และแอ็พคอม จับมือยกระดับสุขภาพดิจิทัลชุมชน

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย – 15 มีนาคม 2567 (Love Foundation) มูลนิธิเพื่อรัก และแอ็พคอม (APCOM) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อยกระดับสุขภาพดิจิทัลสำหรับชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและข้อมูลสำหรับชุมชน LGBTQI+ และกลุ่มประชากรหลักอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล Love2Test.org และtestBKK.org พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ จัดขึ้น ณ Stranger Bar ซอย 4 สีลม กรุงเทพมหานคร ในบรรยากาศที่อบอุ่นและสนุกสนาน เริ่มต้นด้วยการแสดงแดร็กโชว์สุดอลังการจาก คุณศรีมาลา Drag Race Thailand ต่อด้วยการเสวนา ในหัวข้อ “วิธีการใช้ข้อมูลเพื่อเสริมพลังให้กับชุมชน LGBTQI+ และประชากรกลุ่มหลัก” โดยผู้ร่วมสนทนาทั้ง 5 องค์กร ได้แก่ APCOM, สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, SWING, Hornet ประเทศไทย และ มูลนิธิเพื่อรัก ไฮไลท์สำคัญ ของงานคือพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจโดยตัวแทนจากทั้งสองมูลนิธิ ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติจากกว่า 10 … Read more

เริมที่อวัยวะเพศ Genital Herpes

เริมที่อวัยวะเพศ | GENITAL HERPES

เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Herpes Simplex Virus สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้งเมื่อร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย เครียด พักผ่อนน้อย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เริมที่อวัยวะเพศ อาการเป็นอย่างไร ? อาการของจะเริ่มจากการเกิดตุ่มพองขนาดเล็ก ที่อาจจะแตกออกเป็นแผลเปิดและก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่แผลจะตกสะเก็ดและหายไปภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในเพศชายจะปรากฏอาการบริเวณอวัยวะเพศ ถุงอัณฑะ ส่วนในเพศหญิงจะปรากฏอาการบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก นอกจากนี้ เริมที่อวัยวะเพศอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆได้ เช่น การวินิจฉัยเริมที่อวัยวะเพศ บางครั้งแพทย์ อาจวินิจฉัยโรคได้ง่ายจากการตรวจดูด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะในกรณีรอยโรคที่พบค่อนข้างชัดเจน แต่ในบางครั้งแพทย์อาจต้องทำการตรวจสืบค้นเพิ่มเติมโดยการ เก็บตัวอย่างจากรอยโรคที่พบและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเลือดของผู้ที่สงสัยเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อเริม มักไม่เป็นที่นิยมใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค ทั้งนี้เนื่องจากผลการตรวจอาจไม่ชัดเจน แต่ในบางครั้งก็สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคสำหรับผู้ป่วยบางรายได้ การป้องกันเริมที่อวัยวะเพศ เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ และการแพร่เชื้อไวรัสต้นเหตุของเริมที่อวัยวะเพศได้ ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรักษา เริมที่อวัยวะเพศ ในปัจจุบันยังไม่ยาหรือวัคซีน ในการรักษาเริมให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ และลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่น ซึ่งยาในการรักษาอาการนั้นต้องได้รับการสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น โดยการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น … Read more

กรุงเทพ ตรวจเอชไอวี ได้ที่ไหนบ้าง

กรุงเทพ ตรวจเอชไอวี ได้ที่ไหนบ้าง ?

เอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และมีโอกาสป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เอชไอวี สามารถแพร่เชื้อได้ 3 ทางหลักๆ ได้แก่ ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด และจากมารดาสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมบุตร การตรวจเอชไอวี เป็นวิธีเดียวที่จะรู้แน่ชัดว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ ในบทความนี้ จะกล่าวถึงในจังหวัด กรุงเทพ ตรวจเอชไอวี ได้ที่ไหนบ้าง ? ซึ่งมีให้บริการที่หลากหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลของเอกชน คลินิกนิรนาม และคลินิกเฉพาะทางต่างๆ การตรวจเอชไอวี คืออะไร ? การตรวจเอชไอวี (HIV TEST) คือ การตรวจหาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การตรวจเอชไอวีมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น มีประวัติสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี การตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน นิยมตรวจจากเลือด ซึ่งมีทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่ … Read more

ยาต้านฉุกเฉิน-PEP

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินเพื่อป้องกัน HIV

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามี “เป๊ป” หรือยาต้านฉุกเฉินอยู่บนโลกใบนี้เลยเสียด้วยซ้ำ หากคุณไม่เคยศึกษาหรือได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเอชไอวี และโรคเอดส์มาก่อน ด้วยความที่สังคมในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่าย รวมทั้งแอพพลิเคชั่นหาคู่ หาเพื่อน ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น วัยเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ทำให้คนเรานัดเจอกันง่าย รู้จักกันง่าย อันเป็นเหตุให้เกิดความสัมพันธ์ได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน บางทีพบกัน ถูกใจ ก็อาจมีเพศสัมพันธ์กันได้โดยประมาท เพราะใครก็มีโอกาสพลาดกันได้ทั้งนั้น หากคุณไม่ป้องกันให้ดี คุณก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ทุกเมื่อ ทำความรู้จัก “เป๊ป” PEP (Post-Exposure Prophylaxis) “ยาเป๊ป” เรียกได้ว่าเป็น ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงหลังสัมผัสเชื้อมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยาเป๊ป มีส่วนประกอบของตัวยาต้านไวรัสเอชไอวีประมาณ 3 ชนิด ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไม่ให้ขยายตัวเพิ่ม และไม่ให้กลายเป็นไวรัสที่สมบูรณ์ โดยกระบวนการนี้จะทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย สามารถสร้างเกราะมาป้องกันก่อนที่เชื้อจะแพร่จำนวนมากขึ้นจนทำอันตรายให้กับเราได้ เสี่ยงแบบไหน ? ถึงควรรับยาเป๊ป รับยาเป๊ป ได้ที่ไหน ? ประการแรก ก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ นอกจากนี้ คุณยังจะต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของตับและไต … Read more

Categories PEP
ยาเป๊ป-PEP-ป้องกันเอชไอวี-หลังเสี่ยง

ยาเป๊ป (PEP) ป้องกันเอชไอวี หลังเสี่ยง

ยาเป๊ป (PEP) ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน โดยให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังสัมผัสเชื้อหรือหลังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี และรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เป๊ป (PEP) ใช้ในกรณีใด ? ยาเป๊ปสามารถใช้ได้ในกรณีต่อไปนี้ ประสิทธิภาพของ ยาเป๊ป (PEP) ยาเป๊ปมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้สูงถึง 80% หากรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังสัมผัสความเสี่ยง โดยยาเป๊ปจะทำงานโดยการยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ทำให้เชื้อไม่สามารถเพิ่มจำนวน และแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ ในร่างกายได้ ผลข้างเคียงของเป๊ป (PEP) ผลข้างเคียงของยาเป๊ปที่พบได้บ่อย ได้แก่ ขั้นตอนการรับ ยาเป๊ป ผู้เข้ารับยาเป๊ป จะต้องแจ้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีแก่แพทย์ จากนั้นแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจค่าตับค่าไต หากแพทย์พิจารณาว่าผู้เข้ารับยาเป๊ปมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี จะจ่ายยาเป๊ปให้ โดยผู้เข้ารับยาเป๊ปจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน หากรับประทานยาครบตามกำหนด ผู้เข้ารับยาเป๊ปควรพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาเป็นระยะ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา รับยาเป๊ป ได้ที่ไหน ? ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี … Read more

Categories PEP
HPV-สาเหตุ-อาการ-และการป้องกัน

HPV สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

Human Papillomavirus (HPV) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบมากที่สุดในโลก สามารถติดได้ทั้งชาย และหญิงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่างๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับเชื้อHPV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพทางเพศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อHPV สาเหตุของHPV เอชพีวีHPV (Human Papilloma virus) ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยทั่วไปจะแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก ไวรัสสามารถแพร่เชื้อได้แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการให้เห็นก็ตาม ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อHPV ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การมีคู่นอนหลายคน และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ การวินิจฉัยHPV หากผู้ป่วยมีหูดขึ้นตามผิวหนัง แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV อาการของHPV ผู้ติดเชื้อHPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของอาการที่ปรากฏแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของไวรัส ดังนี้ การป้องกัน HPV ขอบคุณข้อมูล : Pobpad อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ การติดเชื้อ HPV ไม่ได้หมายความว่าคุณ หรือคู่นอนของคุณ มีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนเสมอไป … Read more

Categories HPV
PrEP-Bangkok

เพร็พ (PrEP) BANGKOK

เพร็พ (PrEP) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันเอชไอวี ซึ่งมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก PrEP เป็นยาต้านไวรัสเชื้อเอชไอวี “ก่อน” สัมผัสเชื้อ หากมีวินัยในการับประทาน PrEPสามารถป้องกันเอชไอวีได้เกือบ 100% ช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้เจาะลึกถึงบทบาทสำคัญของ PrEP ในการป้องกันเอชไอวี ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี ก่อนที่จะเจาะลึกรายละเอียดเฉพาะของPrEP การทำความเข้าใจความร้ายแรงของสถานการณ์ HIV เป็นสิ่งสำคัญ เอชไอวี หรือ Human Immunodeficiency Virus ยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนทั่วโลก ไวรัสแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มที่ปนเปื้อนร่วมกัน และจากแม่ที่ติดเชื้อไปยังลูกระหว่างคลอดบุตร หรือให้นมบุตร วิวัฒนาการของการป้องกันเอชไอวี เดิมที กลยุทธ์การป้องกันมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการใช้ ถุงยางอนามัย หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และการตรวจเอชไอวีเป็นประจำ แม้ว่าวิธีการเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันการป้องกันเอชไอวี ก้าวล้ำมากขึ้น นั่นคือ ยาเพร็พ ยาป้องกันเอชไอวีก่อนสัมผัสเชื้อ เพร็พ (PrEP)คืออะไร ? PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัส ที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรับเชื้อ … Read more