HPV สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

HPV-สาเหตุ-อาการ-และการป้องกัน

Human Papillomavirus (HPV) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบมากที่สุดในโลก สามารถติดได้ทั้งชาย และหญิงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่างๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับเชื้อHPV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพทางเพศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อHPV

สาเหตุของHPV

เอชพีวีHPV (Human Papilloma virus) ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยทั่วไปจะแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก ไวรัสสามารถแพร่เชื้อได้แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการให้เห็นก็ตาม ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อHPV ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การมีคู่นอนหลายคน และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

การวินิจฉัยHPV

หากผู้ป่วยมีหูดขึ้นตามผิวหนัง แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้

  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ โดยใช้กล้องจุลทรรศ์
  • การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (DNA Test) การนำตัวอย่างเซลล์บริเวณอวัยวะเพศ ไปตรวจหาเชื้อเอชพีวีโดยตรง วิธีนี้นำมาใช้วินิจฉัยสายพันธุ์ของเชื้อได้เช่นกัน
  • การตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopy) แพทย์จะสอดกล้องคอลโปสโคปขนาดเล็กที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ
  • การทดสอบด้วยกรดอะซิติก (Acetic Acid Solution Test) สารละลายกรดอะซิติกจะทำปฏิกิริยากับเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติ และเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวให้เป็นสีขาว ซึ่งง่ายต่อการสังเกตเห็น

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV

  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ 

อาการของHPV

ผู้ติดเชื้อHPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของอาการที่ปรากฏแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของไวรัส ดังนี้

  • หูดชนิดทั่วไป มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่สัมผัสแล้วรู้สึกขรุขระ อาจมีสีเนื้อ สีขาว สีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อน มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือข้อศอก ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจสร้างความเจ็บปวดได้ในบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ มีขนาดเล็ก พื้นผิวเรียบ สีของหูดเข้มกว่าสีผิวปกติและนูนขึ้นมาจากผิวหนังเล็กน้อย เกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย หากเป็นเด็กมักพบตามใบหน้า ในผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ส่วนผู้ชายจะพบได้บ่อยบริเวณเครา
  • หูดอวัยวะเพศ หรือเรียกว่าหูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศชาย และทวารหนัก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกคัน
  • มะเร็งปากมดลูก เชื้อHPV บางสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองของผู้หญิงทั่วโลก การตรวจคัดกรองเป็นประจำ เช่น การตรวจแปปสเมียร์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจหา และรักษาความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่เนิ่นๆ
  • มะเร็งอื่นๆ การติดเชื้อHPV ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งทวารหนัก ช่องคลอด ปากช่องคลอด องคชาต และมะเร็งในช่องปาก

การป้องกัน HPV

การป้องกัน-HPV
  • ฉีดวัคซีนHPV
  • สวม ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ตรวจหาเชื้อHPV เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูล : Pobpad

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ การติดเชื้อ HPV ไม่ได้หมายความว่าคุณ หรือคู่นอนของคุณ มีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนเสมอไป เพราะมีการวิจัยที่ยืนยันได้ว่า แม้เพศหญิงหรือเพศชายที่มีคู่นอนเพียงคนเดียว ก็มีสิทธิ์ติดเชื้อHPV ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรหมั่นตรวจคัดกรองอยู่เป็นประจำ และอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ คือ การฉีดวัคซีน