เอชไอวี

เมื่อไหร่ควร ตรวจเอชไอวี

ตรวจเอชไอวี ควรไปเมื่อไหร่ดี ?

หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การรีบปรึกษาแพทย์ หรือสถานพยาบาล เพื่อทำการ ตรวจเอชไอวี โดยเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แสดงอาการ เพราะความจริงนั้น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลยว่าได้รับเชื้อมาเรียบร้อยแล้ว มันไม่มีสัญญาณใด ๆ ระบุได้ว่าอาการไหน คือคนที่ติดเชื้อแล้ว จนกว่าคนนั้นจะได้ทำการเจาะเลือด ข้อดีของการตรวจหาเชื้อเอชไอวี การตรวจหาเชื้อเอชไอวี มีข้อดีหลายประการ ดังนี้ รู้จัก WINDOW PERIOD กันก่อน! ระยะฟักตัว หรือ Window Period อธิบายง่าย ๆ คือ ช่วงเวลาที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวีมาแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Anti-body) ยังตรวจไม่พบเชื้อ ทำให้การเจาะเลือดตรวจในช่วงนี้ยังไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะสามารถตรวจจับเชื้อเอชไอวีได้ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เพราะการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัสนั้นแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาที่จะสามารถตรวจเอชไอวีพบเชื้อได้นั่นเอง แบบไหนควร ตรวจเอชไอวี? ต้องรอกี่วันถึงไปตรวจเลือดได้? ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวไกลมาก ณ ปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีที่ใช้กรรมวิธีที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ การตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี (ANTI-HIV) แอนติบอดีนั้น ถูกสร้างขึ้นมา … Read more

ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับ การตรวจ HIV ในปัจจุบัน

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ การตรวจ HIV ในปัจจุบัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็ คือ เชื้อเอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรง ที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะเอดส์ นั่นเอง ด้วยความเชื่อ และความเข้าใจผิดที่ได้ส่งต่อกันมา เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายคนไม่กล้าที่จะ ตรวจ HIV เพื่อเพิ่มการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเอชไอวีเท่าที่ควร ซึ่งมีแง่มุมต่อผู้ป่วยเอชไอวีในทางลบ จนส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติไปจนถึงการตีตราผู้ป่วย นำมาสู่ความกลัว ไม่กล้า ไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นผู้ที่น่ารังเกียจของสังคม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การตรวจ HIV กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนไม่กล้าปรึกษาแพทย์โดยตรง ทั้งที่ตนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงก็ตาม ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำตอบของทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับการตรวจ HIV ที่คัดสรรมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า พบคำถามเหล่านี้บ่อยครั้งจากหลากหลายแหล่ง รวมไปถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจไปในทิศทางถูกต้อง และเปลี่ยนทัศนคติต่อการตรวจ HIV การป้องกัน HIV การรักษา HIV ไปจนถึงการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นหลังจากทราบผลการตรวจ HIV ว่าติดเชื้อเอชไอวี ทั้งหมดนี้จะให้ความรู้และไขข้อข้องใจได้ครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน ไปติดตามในเนื้อหากันได้เลย … Read more

ANTI HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน

ANTI-HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน

การตรวจ ANTI-HIV (แอนติบอดีเอชไอวี) หรือ HIV Antibody Test เป็นการตรวจ เพื่อหาแอนติบอดีที่เกิดขึ้นโดยตรงกับเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดของมนุษย์ โดยใช้เลือดของผู้ตรวจเป็นตัวอย่าง ซึ่งการตรวจเอชไอวีสามารถทำได้โดยใช้วิธีการตรวจแบบ ELISA (Enzyme-linked Immunosorbent Assay) หรือวิธีการวิเคราะห์หาโปรตีนโดยเทคนิค Western Blot ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และได้รับการยอมรับในการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี การตรวจสอบเอชไอวีจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ในบางกรณีอาจจะใช้เวลานานขึ้นกว่านี้ ระยะเวลาการตรวจเอชไอวีมีความสำคัญอย่างมาก ในการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วหรือไม่ การตรวจเอชไอวีเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยากรู้สถานะเอชไอวีของตัวเอง วิธีการตรวจANTI-HIV ทำงานอย่างไร? ในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสเองยากต่อการตรวจพบ การตรวจเอชไอวี จึงมักจะเน้นการตรวจการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส เป็นการวัดปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด ด้วยวิธีนี้เพื่อช่วยวินิจฉัยเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งโครงสร้างสำคัญที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของร่างกาย คือ แอนติบอดี ที่ถูกผลิตโดยธรรมชาติ และเข้าต่อสู้กับเชื้อไวรัส เมื่อมีการตรวจเอชไอวีก็จะตรวจสอบการมีแอนติบอดีต่อการมีเชื้อไวรัสเอชไอวี แบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ELISA (EIA) และ Western Blot ที่สามารถตรวจสอบได้จากตัวอย่างน้ำลายในปาก (Oral Fluid) ในปัจจุบัน ผลการตรวจ ANTI-HIV หมายถึงอะไร? … Read more