ตรวจเอชไอวี

เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจเอชไอวี?

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจโรคติดต่อทางเพศ

หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การรีบปรึกษาแพทย์ หรือสถานพยาบาล เพื่อทำการตรวจเลือดโดยเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แสดงอาการ เพราะความจริงนั้น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลยว่าได้รับเชื้อมาเรียบร้อยแล้ว มันไม่มีสัญญาณใด ๆ ระบุได้ว่าอาการไหน คือคนที่ติดเชื้อแล้ว จนกว่าคนนั้นจะได้ทำการเจาะเลือด

แบบไหนควรตรวจเอชไอวี?

  • ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • เกิดอุบัติเหตุโดนเข็มฉีดยา กรณีที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือมึนเมาไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
ตรวจHIV ตรวจเลือด ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจโรคติดต่อทางเพศ

รู้จัก Window Period กันก่อน!

ระยะฟักตัว หรือ Window Period อธิบายง่าย ๆ คือ ช่วงเวลาที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวีมาแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Anti-body) ยังตรวจไม่พบเชื้อ ทำให้การเจาะเลือดตรวจในช่วงนี้ยังไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะสามารถตรวจจับเชื้อเอชไอวีได้ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เพราะการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัสนั้นแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาที่จะสามารถตรวจเอชไอวีพบเชื้อได้นั่นเอง

ต้องรอกี่วันถึงไปตรวจเลือดได้?

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวไกลมาก ณ ปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีที่ใช้กรรมวิธีที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

การตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV)

แอนติบอดีนั้น ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเชื้อร้ายที่เข้ามาสู่ร่างกายโดยตรง ตามระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติของคนเรา โดยจะสามารถตรวจพบได้ในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือนขึ้นไป หลังได้รับเชื้อมาแล้ว การตรวจเอชไอวีวิธีนี้ จึงเป็นการตรวจจับแอนติบอดีในเลือดของเรานั่นเอง หากตรวจพบก็แสดงว่าร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปจริง ๆ เพราะเจ้าแอนติบอดีออกมาต่อสู้กับเชื้อ ทั้งนี้ หากต้องการความมั่นใจควรตรวจซ้ำหลังจากนี้ 3 เดือน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาผลิตแอนติบอดีมากพอ และเป็นการยืนยันผลตรวจที่แน่นอนอีกครั้ง

การตรวจเอชไอวีด้วยเทคนิค PCR

PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมในระดับอณูชีวโมเลกุล โดยสามารตรวจได้แม้แต่กระทั่งเด็กทารกที่อาจได้รับเชื้อเอชไอวีจากแม่ ตั้งแต่ช่วงอายุ 1 เดือน หากคุณตั้งครรภ์ การตรวจเอชไอวีเป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากคุณมีเชื้อ จะสามารถวางแผนและป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่เด็กในครรภ์ได้ หรือใช้ตรวจในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยง 14 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีที่ทำให้การวินิจฉัยโรคเพื่อทำการรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตรวจเอชไอวีแบบแนท (NAT)

NAT : Nucleic Acid Testing เป็นวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโดยตรงที่มีความรวดเร็วที่สุด และยังมีความแม่นยำสูง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีมาเพียง 7-14 วันขึ้นไป ก็สามารถตรวจได้ ไม่จำเป็นต้องรอระยะเวลานานเหมือน 2 วิธีข้างต้น แต่ผู้ที่ตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์จะแนะนำให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 1 เดือนเพื่อยืนยันผล

ตรวจเอชไอวีที่ไหน สถานที่ตรวจเลือด ตรวจHIVที่ไหน คลินิกตรวจเลือด ตรวจเลือดกรุงเทพ

ตรวจเอชไอวีได้ที่ไหน?

คนไทยทุกคนสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ แต่ก็มีหลายคนที่ไม่อยากรอคิวนาน รอฟังผลนานด้วยความที่ว่าสถานพยาบาลของทางภาครัฐ ย่อมมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก วันนี้เรามีทางเลือกในการตรวจเอชไอวีที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยการจองผ่านเว็บไซต์ https://love2test.org/th ได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้

จังหวัดสถานบริการข้อมูลการจองตรวจ
กรุงเทพฯเซฟ คลินิก (SAFE CLINIC)https://love2test.org/clinic/SafeClinic
คลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้งรามคำแหง
(Rainbow Sky Association of Thailand (RSAT))
https://love2test.org/clinic/rsatbangkok
SWING THAILAND สาขาสีลม (Swing Silom)https://love2test.org/clinic/swing.silom
SWING สาขาสะพานควาย
(Swing Saphankhwai)
https://love2test.org/clinic/swing.saphankhwai
คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลกลาง
(Rakpuen Clinic Klang Hospital)
https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.klanghospital
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลตากสิน
(Rakpuen Clinic Taksin Hospital)
https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.taksin
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(Rakpuen Clinic Charoenkrung Pracharak)
https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.charoenkrung
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลสิรินธร
(Rakpuen Clinic Sirindhorn)
https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.sirindhorn
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ (Rakpuen Clinic Vejkarun)https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.vejkarun
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลลาดกระบัง (Rakpuen Clinic Lardkrabang)https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.ladkrabang
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ (Rakpuen Clinic Ratchaphiphat)https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.ratchaphiphat
คลินิกรักษ์เพื่อนโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ (Rakpuen Clinic Thaweesak)https://love2test.org/clinic/rakpuenclinic.thaweesak
คลินิกรักษ์เพื่อนคณะแพทยศาสตร์
วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (Rakpuen Clinic Nawamin)
https://love2test.org/clinic/rakpuen.nawamin
มูลนิธิเอชไอวี เอเชีย
(The HIV Foundation Asia)
https://love2test.org/clinic/hivfoundation
คลินิก บัดดี จุฬา (BUDDY CU Clinic)https://love2test.org/clinic/buddycuclinic
จังหวัดสถานบริการข้อมูลการจองตรวจ
เชียงใหม่คลินิกฮักษา กลางเวียง (HUGSA CLINIC)https://love2test.org/clinic/hugsa
แคร์แมท (CAREMAT)https://love2test.org/clinic/CAREMAT
Mplus Thailandhttps://love2test.org/clinic/MplusChiangMai
จังหวัดสถานบริการข้อมูลการจองตรวจ
ชลบุรีคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง เมืองชลบุรี (Rsat Chon Buri)https://love2test.org/clinic/Rsatchonburi
SWING สาขาพัทยา(Swing Pattaya)https://love2test.org/clinic/swing.pattaya
อุบลราชธานีคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง อุบลราชธานี (Rsat Ubon)https://love2test.org/clinic/RsatUbon
อุดรธานีศูนย์บริการสุขภาพชุมชนมูลนิธิเอ็มเฟรนด์อุดรธานี
(M-Friends Udonthani Foundation)
https://love2test.org/clinic/MFriends
ขอนแก่นแอ๊คทีม (Actteam)https://love2test.org/clinic/Actteam
ภูเก็ตสบายดีคลินิก โรงพยาบาลป่าตอง
(Sabidee Clinic Patong)
https://love2test.org/clinic/SabideePatong
สงขลาคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง หาดใหญ่
(RSAT Songkhla)
https://love2test.org/clinic/RsatSongkhla

ตรวจเอชไอวีเป็นประจำทุกปี

เราแนะนำให้รวมการตรวจเอชไอวีเข้ากับโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีของคุณไปเลยทีเดียว เพราะการเช็คเป็นประจำ จะช่วยป้องกันคุณให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ รวมถึงตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย หากคุณเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรตรวจเอชไอวีอย่างน้อยทุก ๆ 3-6 เดือนหรือบ่อยกว่านี้ โดยประเมินจากความเสี่ยงที่คุณมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละครั้ง

ถึงแม้ว่า คุณจะไม่มีความเสี่ยงแบบที่กล่าวไปข้างต้น แต่หากคุณยังมีเพศสัมพันธ์อยู่ ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง เพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นประจำ เพราะเราไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่า คู่นอนของเรามีความเสี่ยงหรือไม่ การตัดสินใจตรวจเอชไอวี ถือเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ แสดงถึงความใส่ใจในสุขภาพทางเพศของคุณเป็นอย่างดีครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

continue reading
PEP

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินเพื่อป้องกัน HIV

ถุงหลุด ถุงแตก ยาต้านฉุกเฉิน PEP เป๊ป ยาต้านไวรัส เอดส์ เอชไอวี ตรวจเลือด
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามี “ยาเป๊ป” หรือยาต้านฉุกเฉินอยู่บนโลกใบนี้เลยเสียด้วยซ้ำ หากคุณไม่เคยศึกษาหรือได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเอชไอวี และโรคเอดส์มาก่อน ด้วยความที่สังคมในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่าย รวมทั้งแอพพลิเคชั่นหาคู่ หาเพื่อน ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น วัยเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ทำให้คนเรานัดเจอกันง่าย รู้จักกันง่าย อันเป็นเหตุให้เกิดความสัมพันธ์ได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน บางทีพบกัน ถูกใจ ก็อาจมีเพศสัมพันธ์กันได้โดยประมาท เพราะใครก็มีโอกาสพลาดกันได้ทั้งนั้น หากคุณไม่ป้องกันให้ดี คุณก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ทุกเมื่อ ทำความรู้จัก “ยาเป๊ป” PEP (Post-Exposure Prophylaxis) “ยาเป๊ป” เรียกได้ว่าเป็น ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงหลังสัมผัสเชื้อมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยาเป๊ป
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ซิฟิลิส (Syphilis) อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนมากจะติดระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยจะมีอาการที่เห็นได้ชัดคืออยู่ ๆ ร่างกายจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตามแขน ตามลำตัว หรือขึ้นพร้อมกันในบริเวณทั้งหมดที่กล่าวมา หากมีอาการดังกล่าวก็ควรเข้าพบแพทย์และรักษาให้หายขาดโดยเร็วที่สุด โรคซิฟิลิสคืออะไร ? ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) พบได้บ่อย และสามารถ เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร ? โรคซิฟิลิส ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยง่าย จากการสัมผัส จูบ กอด เพศสัมพันธ์ สามารถติดผ่านผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ได้ ทารกในครรภ์ติดเชื้อจากแม่ผ่านรกได้
continue reading
PrEP

ยาเพร็พ ขายที่ไหน อยากได้ต้องทำอย่างไร

เพร็พ ยาเพร็พ ยาต้านไวรัส เอชไอวี PrEP HIV PEP ยากินก่อนติดเชื้อ เอดส์ ตรวจเลือด
ยาเพร็พ เป็นยาที่ใช้รับประทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันคุณจากเชื้อไวรัสเอชไอวี นอกจากจะช่วยป้องกันเอชไอวีได้อย่างเต็มที่แล้ว ยาเพร็พยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานอย่างมาก เพราะคุณสามารถเลือกช่วงเวลาในการใช้ยา หรือเลิกใช้ยาได้ทุกเมื่อ ช่วงเวลาไหนเสี่ยงก็ทาน ช่วงเวลาไหนที่ไม่มีความเสี่ยงก็สามารถหยุดยาได้ เช่น คุณไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อยแล้ว หรือแม้แต่กลับมาเริ่มยาใหม่อีกครั้งได้ทุกเมื่อที่คุณกำลังจะมีความเสี่ยงอีกครั้ง วันนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับยาชนิดนี้เพิ่มขึ้นด้วยข้อมูลเหล่านี้กันดีกว่าครับ ยาเพร็พ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพร็พ (PrEP) หรือที่เรียกว่า Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ป้องกันเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ ที่จะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ จึงจะสามารถป้องกันเชื้อได้เกือบ 100% โดยตัวยาจะประกอบไปด้วยยาต้านไวรัส 2 ชนิด คือ ทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir), เอมทริซิตาบีน (Emtricitabine)
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเริม (Herpes)

เริมติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนัง โดยผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ ปาก และตา เป็นบริเวณที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย ส่วนบริเวณอื่นๆ ของร่างกายก็อาจติดเชื้อได้ ถ้ามีช่องทางให้เชื้อเข้าไปได้ เช่น รอยบาดแผลที่ผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น เริมเกิดจากอะไร? เริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ Herpes simplex virus หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Herpes ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ Herpes simplex virus ชนิด 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus ชนิด 2
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

“หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเอื่นๆ

หูดหงอนไก่ เป็นหูดที่พบได้บ่อยบริเวณอวัยวะเพศ โดยเกิดจากเชื้อไวรัส ‘HPV’ (Human Papilloma Virus) จัดว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยที่กำลังเจริญพันธุ์ คือ ช่วงอายุ 17 - 33 ปี ทั้งชายและหญิง แต่พบได้ในเพศหญิงเสียมากกว่า บางครั้ง หูดหงอนไก่ อาจเรียกในชื่ออื่นได้อีกว่า หงอนไก่ , หูดอวัยวะเพศ หรือหูดกามโรค ปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์ของไวรัส HPV ได้ประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดหูดที่บริเวณผิวหนัง บางสายพันธุ์ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ส่วนบางสายพันธุ์ก็จะเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ อาทิ มะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย
continue reading
ตรวจเอชไอวี

เอชไอวี ตรวจก่อน ป้องกันได้

เอชไอวี (HIV) คือ โรคจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV ย่อมาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus. โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปอาศัยในร่างการจน และเริ่มทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวประเภททีเซลล์ T-Cell หรือบางที่เรียวกว่า CD4 ซึ่งโดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวตัวนี้จะเป็นตัวทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกทำลายทำให้เราไม่สามารถต่อสู้กับโรคได้ และทำให้เราเจ็บป่วยได้ เอชไอวีมีอาการอย่างไร ? สำหรับเอชไอวี สำหรับบางคนเมื่อรับเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะยังไม่แสดงอาการ และไม่สามารถมองอาการด้วยได้ตาเปล่า ต้องมีการตรวจ HIV เท่านั้นถึงจะทราบว่าเป็นเอชไอวีหรือไม่ สำหรับผู้ที่รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายและ มีอาการของโรคเอดส์ จะพบอาการดังนี้ มีอาการท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์พบว่าน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วตรวจพบมีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปากมีแผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนักอาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ การติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวี(
continue reading
1 2
Page 2 of 2