เอชไอวี (HIV) คือ โรคจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV ย่อมาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus. โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปอาศัยในร่างการจน และเริ่มทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวประเภททีเซลล์ T-Cell หรือบางที่เรียวกว่า CD4
ซึ่งโดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวตัวนี้จะเป็นตัวทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกทำลายทำให้เราไม่สามารถต่อสู้กับโรคได้ และทำให้เราเจ็บป่วยได้
Table of Contents
เอชไอวีมีอาการอย่างไร ?
สำหรับเอชไอวี สำหรับบางคนเมื่อรับเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะยังไม่แสดงอาการ และไม่สามารถมองอาการด้วยได้ตาเปล่า ต้องมีการตรวจ HIV เท่านั้นถึงจะทราบว่าเป็นเอชไอวีหรือไม่ สำหรับผู้ที่รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายและ มีอาการของโรคเอดส์ จะพบอาการดังนี้
- มีอาการท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
- พบว่าน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
- ตรวจพบมีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก
- มีแผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
- อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ
การติดเชื้อเอชไอวี
การติดเชื้อเอชไอวี( HIV )แบ่งได้ 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious )คือ ระยะที่รับเชื้อมาใหม่ๆ โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่สำหรับบางคนจะไม่มีอาการใด ๆ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี
- ระยะไม่ปรากฏอาการ (Clinical Latency Stage) คือ เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นระยะที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และไม่สามารถสังเกตุได้ มักจะทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่นได้
- ระยะมีอาการ คือ เป็นช่วงระยะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น จะพบมีตุ่มคันขึ้นตามแขน มีฝ้าขาวในปาก ขา ในหลายคนมักมีไข้เรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ และพบว่ามีอาการท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ และน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 เป็นต้
- ระยะเอดส์ (AIDS) คือ ระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก CD4 มีปริมาณที่น้อยมาก สามารถทราบได้จากการตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีสี่ลดลง ร่างกายเริ่มติดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น วัณโรค เชื้อราในปอด เชื้อราขึ้นสมอง

เอชไอวี ตรวจก่อน ป้องกันได้
การป้องกันเอชไอวี?
เอชไอวีเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD การวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อได้เกือบทุกชนิดทั้งยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย
วิธีป้องกันอีกแบบหนึ่งคือการทานยาที่เรียกว่า PrEP ซึ่งจะเป็นยาที่ทานดักไว้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยา PrEP นี้จะสามารถป้องกันได้แค่โรคเอชไอวีเท่านั้น หากอยากป้องกันให้ครบถ้วนก็ควรใช้ถุงยางอนามัยอยู่ดี
อย่างไรก็ตามเราเป็นผู้ศูนย์กลางในการเลือกวิธีการป้องกัน HIV เราสามารถกำหนดได้ว่าอยากใช้เพร็พ หรือถุงยาง หรือใช้คู่กันเพื่อให้ตัวเองปลอดภัยและคงสถานะลบให้นานที่สุด
การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ปัจจุบันการรักษาเอชไอวี มีเพียงการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเท่านั้น เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด โดยผู้ติดเชื้อจะได้รับยาต้านเอชไอวีอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันเป็นสูตรยา แต่มีหลักการรักษา คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาให้ตรงเวลาทุกวันต่อเนื่องตลอดชีวิต เพราะยาจะไปทำการยับยั้งการแบ่งตัวและการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส ถ้าหยุดกินเมื่อไหร่ก็จะทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและแพร่กระจาย
และในขณะนี้ ปี 2021 การพัฒนายาต้านแบบฉีดได้รับความสนใจและประสพความสำเร็จในบางประเทศและหวังว่าประเทศไทยจะนำมาใช้เร็ว ๆ นี้ โดยการฉีดยาต้านเอชไอวี จะทำการฉีดเดือนละครั้ง แทนการทานยาทุกวัน
สรุป เอชไอวีไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัวหากเรามีการป้องกันและมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รู้สถานของตัวเราและวางแผนชีวิตได้ อย่าลืมนะครับ ตรวจเอชไอวีปัจจุบันฟรี https://love2test.org/th/clinic
1 Comment
Comments are closed.