TeamPrep Bkk

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โรคหนองใน (Gonorrhoea)

‎ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โรคหนองใน
หนองในแท้ และหนองในเทียม ในบางครั้งอาจแยกอาการกันไม่ออก ถ้าใช้ยารักษาหนองในแท้อย่างเต็มที่แล้วไม่ได้ผล (โดยไม่ได้ตรวจเชื้อมาก่อน) สาเหตุอาจเป็นเพราะเชื้อดื้อยา หรืออาจจะเป็นหนองในเทียมก็ได้ โรคหนองใน (Gonorrhoea) คืออะไร? โรคหนองใน หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย   เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า    ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoea)  ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 2 - 10 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงอาการภายใน 5 วัน สาเหตุของโรคหนองใน
continue reading
ตรวจเอชไอวี

การตรวจเอชไอวีในสถานพยาบาลกับการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ต่างกันอย่างไร?

แน่นอนว่าการตรวจเอชไอวีด้วยชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการตรวจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นเพียงการตรวจคัดกรองเท่านั้น ซึ่งอาจจะต้องเข้ารับการตรวจยืนยันจากสถานพยาบาลอีกครั้ง โดยความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ขั้นตอนการตรวจ หากเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้ตรวจจะได้รับคำปรึกษาและสอบถามความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อพิจารณารูปแบบการตรวจให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากกว่านั่นเอง ในส่วนของการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ผู้ตรวจจะต้องทำการตรวจด้วยตนเอง จึงอาจมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะจากความผิดพลาดหรือความไม่สมบูรณ์ของชุดตรวจ ทำไมการตรวจเอชไอวีเป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่ง่ายและดีต่อตนเอง การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่โรคเอดส์เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาที่ผ่านไปการคิดค้นแนวทางการรักษาให้หายขาดยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดวงการแพทย์สามารถรักษาให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อได้อย่างปกติ ทั้งนี้ยังมีการคิดค้นชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้ง่ายในราคาที่จับต้องได้ มีการออกแบบให้ใช้งานได้สะดวกเข้าใจง่าย ดังนั้นการตรวจเอชไอวีเป็นประจำจึงส่งผลดีต่อการป้องกันที่ดีที่สุด กรณีที่พบเชื้อเร็วก็ส่งผลดีต่อการรักษาที่เร็วด้วยเช่นกัน ตลอดจนเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนหรือบุคคลอื่นได้อีกด้วย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง INSTI หนึ่งในชุดตรวจที่ได้มาตรฐานระดับโลก หากใครที่กำลังมองหา ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่ได้มาตรฐาน และจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย แนะนำว่าชุดตรวจเอชไอวี INSTI คือหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานในไทยแล้ว ยังขึ้นชื่อว่าเป็นชุดตรวจเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ สามารถทราบผลได้ใน
continue reading
ตรวจเอชไอวี

ความก้าวหน้าของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองในปัจจุบัน

กว่า 40 ปีผ่านมาที่เชื้อไวรัสเอชไอวีได้ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2524 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้แพร่กระจายสู่ประชากรทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้นรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ “โรคเอดส์” ถือว่าเป็นโรคที่ส่งผลร้ายแรงและนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด แต่การวิจัยและการพัฒนาด้านการแพทย์ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียด จึงทำให้มีแนวทางการรักษาที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ 100% ก็ตาม แต่หนึ่งสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้คือการรักษาให้ผู้ติดเชื้อใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อได้อย่างปกติ รวมไปถึงการลดโอกาสในการติดต่อด้วยการคิดค้น ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เพื่อการเข้าถึงและรู้ผลเลือดที่ง่ายได้ด้วยตัวเอง ความก้าวหน้าของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้ริเริ่มวางจำหน่ายอย่างถูกต้องในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2558 ด้วยการเปิดตัวชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองชุดแรกของโลก โดยใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อใช้ในการตรวจเบื้องต้น ซึ่งสามารถทราบผลเลือดได้ภายใน 15 นาทีเท่านั้น นับว่าเป็นหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้การเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังเป็นการคัดกรองที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากถึง 99.7%  ประสิทธิภาพของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองชุดแรกของโลก ต่อเนื่องจากเนื้อหาข้างต้นที่ได้กล่าวถึงการเริ่มต้นวางจำหน่าย “ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง” ครั้งแรกของโลก แน่นอนว่าจะต้องผ่านกระบวนการต่าง
continue reading
ตรวจเอชไอวี

เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจเอชไอวี?

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจโรคติดต่อทางเพศ
หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การรีบปรึกษาแพทย์ หรือสถานพยาบาล เพื่อทำการตรวจเลือดโดยเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แสดงอาการ เพราะความจริงนั้น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลยว่าได้รับเชื้อมาเรียบร้อยแล้ว มันไม่มีสัญญาณใด ๆ ระบุได้ว่าอาการไหน คือคนที่ติดเชื้อแล้ว จนกว่าคนนั้นจะได้ทำการเจาะเลือด แบบไหนควรตรวจเอชไอวี? ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นเกิดอุบัติเหตุโดนเข็มฉีดยา กรณีที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือมึนเมาไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา รู้จัก Window Period กันก่อน! ระยะฟักตัว หรือ Window Period อธิบายง่าย ๆ คือ ช่วงเวลาที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวีมาแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Anti-body) ยังตรวจไม่พบเชื้อ
continue reading
PEP

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉินเพื่อป้องกัน HIV

ถุงหลุด ถุงแตก ยาต้านฉุกเฉิน PEP เป๊ป ยาต้านไวรัส เอดส์ เอชไอวี ตรวจเลือด
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามี “ยาเป๊ป” หรือยาต้านฉุกเฉินอยู่บนโลกใบนี้เลยเสียด้วยซ้ำ หากคุณไม่เคยศึกษาหรือได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเอชไอวี และโรคเอดส์มาก่อน ด้วยความที่สังคมในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่าย รวมทั้งแอพพลิเคชั่นหาคู่ หาเพื่อน ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น วัยเรียน นักศึกษา วัยทำงาน ทำให้คนเรานัดเจอกันง่าย รู้จักกันง่าย อันเป็นเหตุให้เกิดความสัมพันธ์ได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน บางทีพบกัน ถูกใจ ก็อาจมีเพศสัมพันธ์กันได้โดยประมาท เพราะใครก็มีโอกาสพลาดกันได้ทั้งนั้น หากคุณไม่ป้องกันให้ดี คุณก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ทุกเมื่อ ทำความรู้จัก “ยาเป๊ป” PEP (Post-Exposure Prophylaxis) “ยาเป๊ป” เรียกได้ว่าเป็น ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงหลังสัมผัสเชื้อมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยาเป๊ป
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ซิฟิลิส (Syphilis) อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนมากจะติดระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยจะมีอาการที่เห็นได้ชัดคืออยู่ ๆ ร่างกายจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตามแขน ตามลำตัว หรือขึ้นพร้อมกันในบริเวณทั้งหมดที่กล่าวมา หากมีอาการดังกล่าวก็ควรเข้าพบแพทย์และรักษาให้หายขาดโดยเร็วที่สุด โรคซิฟิลิสคืออะไร ? ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) พบได้บ่อย และสามารถ เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร ? โรคซิฟิลิส ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยง่าย จากการสัมผัส จูบ กอด เพศสัมพันธ์ สามารถติดผ่านผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ได้ ทารกในครรภ์ติดเชื้อจากแม่ผ่านรกได้
continue reading
PrEP

ยาเพร็พ ขายที่ไหน อยากได้ต้องทำอย่างไร

เพร็พ ยาเพร็พ ยาต้านไวรัส เอชไอวี PrEP HIV PEP ยากินก่อนติดเชื้อ เอดส์ ตรวจเลือด
ยาเพร็พ เป็นยาที่ใช้รับประทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันคุณจากเชื้อไวรัสเอชไอวี นอกจากจะช่วยป้องกันเอชไอวีได้อย่างเต็มที่แล้ว ยาเพร็พยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานอย่างมาก เพราะคุณสามารถเลือกช่วงเวลาในการใช้ยา หรือเลิกใช้ยาได้ทุกเมื่อ ช่วงเวลาไหนเสี่ยงก็ทาน ช่วงเวลาไหนที่ไม่มีความเสี่ยงก็สามารถหยุดยาได้ เช่น คุณไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อยแล้ว หรือแม้แต่กลับมาเริ่มยาใหม่อีกครั้งได้ทุกเมื่อที่คุณกำลังจะมีความเสี่ยงอีกครั้ง วันนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับยาชนิดนี้เพิ่มขึ้นด้วยข้อมูลเหล่านี้กันดีกว่าครับ ยาเพร็พ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพร็พ (PrEP) หรือที่เรียกว่า Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ป้องกันเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ ที่จะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ จึงจะสามารถป้องกันเชื้อได้เกือบ 100% โดยตัวยาจะประกอบไปด้วยยาต้านไวรัส 2 ชนิด คือ ทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir), เอมทริซิตาบีน (Emtricitabine)
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเริม (Herpes)

เริมติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนัง โดยผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ ปาก และตา เป็นบริเวณที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย ส่วนบริเวณอื่นๆ ของร่างกายก็อาจติดเชื้อได้ ถ้ามีช่องทางให้เชื้อเข้าไปได้ เช่น รอยบาดแผลที่ผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น เริมเกิดจากอะไร? เริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ Herpes simplex virus หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Herpes ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ Herpes simplex virus ชนิด 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus ชนิด 2
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

“หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเอื่นๆ

หูดหงอนไก่ เป็นหูดที่พบได้บ่อยบริเวณอวัยวะเพศ โดยเกิดจากเชื้อไวรัส ‘HPV’ (Human Papilloma Virus) จัดว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยที่กำลังเจริญพันธุ์ คือ ช่วงอายุ 17 - 33 ปี ทั้งชายและหญิง แต่พบได้ในเพศหญิงเสียมากกว่า บางครั้ง หูดหงอนไก่ อาจเรียกในชื่ออื่นได้อีกว่า หงอนไก่ , หูดอวัยวะเพศ หรือหูดกามโรค ปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์ของไวรัส HPV ได้ประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดหูดที่บริเวณผิวหนัง บางสายพันธุ์ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ส่วนบางสายพันธุ์ก็จะเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ อาทิ มะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย
continue reading
1 2
Page 2 of 2