TeamPrep Bkk

PrEP

PrEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV

PrEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV
หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อHIV คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันมีทางเลือกเพิ่มเติมในการป้องกัน HIV นั่นก็คือ PrEP ยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนสัมผัสเชื้อ ทานวันละ 1 เม็ด เป็นประจำทุกวัน PrEPคืออะไร ? PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV "ก่อนสัมผัสเชื้อ" เหมาะสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาเดิมทุกวัน จากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้เกือบ 100% ใครบ้างที่ควรใช้PrEP PrEPเหมาะสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
continue reading
เริมที่อวัยวะเพศ

เริมที่อวัยวะเพศ | Genital herpes

เริมที่อวัยวะเพศ Genital Herpes
เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Herpes Simplex Virus สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้งเมื่อร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย เครียด พักผ่อนน้อย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Herpes Simplex Virus 1 (HSV 1) ทำให้โรคเริมที่ปาก หรือ บริเวณรอบปาก Herpes Simplex Virus (HSV 2) ทำให้เกิดโรคเริมที่อวัยวะเพศ เริมที่อวัยวะเพศ อาการเป็นอย่างไร ? อาการของจะเริ่มจากการเกิดตุ่มพองขนาดเล็ก ที่อาจจะแตกออกเป็นแผลเปิดและก่อให้เกิดความเจ็บปวด
continue reading
HPV

HPV สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

HPV สาเหตุ อาการ และการป้องกัน
Human Papillomavirus (HPV) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบมากที่สุดในโลก สามารถติดได้ทั้งชายและหญิงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่างๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับเชื้อ HPV เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพทางเพศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV สาเหตุของ HPV HPV (Human Papillomavirus) ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยทั่วไปจะแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก ไวรัสสามารถแพร่เชื้อได้แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการให้เห็นก็ตาม ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การมีคู่นอนหลายคน และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ การวินิจฉัย HPV หากผู้ป่วยมีหูดขึ้นตามผิวหนัง แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น
continue reading
เอชไอวี

ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเอชไอวี

ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเอชไอวี
ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาก็จะนำไปสู่โรคเอดส์ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงอย่างมาก ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้ออื่น ๆ ที่เข้ามาแทรกซ้อนจนกลายเป็นโรคร้าย อย่างวัณโรคหรือมะเร็ง “เอชไอวี” จึงเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก
continue reading
ตรวจเอชไอวี

ถุงยางอนามัย สวมเถอะ! เรื่องจำเป็น

ถุงยางอนามัย สวมเถอะ! เรื่องจำเป็น
ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ มักทำจากน้ำยางยูรีเทน โพลีไอโซพรีน หรือหนังแกะที่ออกแบบมา เพื่อให้ครอบคลุมองคชาต หากใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประจำสม่ำเสมอ ถุงยางอนามัยคือหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ ถุงยางอนามัยมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในร้านขายยา ร้านขายของชำ และออนไลน์ มีให้เลือกหลายขนาด สี และพื้นผิว เพื่อให้เหมาะกับความชอบส่วนบุคคล
continue reading
สุขภาพจิต

เอชไอวีและภาวะซึมเศร้า อยู่กับมันอย่างไร

อยู่ร่วมกับเชื้อ เอชไอวีและภาวะซึมเศร้า อย่างไร
การมีชีวิตอยู่กับเชื้อไวรัส เอชไอวีและภาวะซึมเศร้า นั้นเป็นสิ่งที่มีความท้าทายกับผู้ป่วยได้ แต่ก็มีกลยุทธ์ในการจัดการภาวะทั้งสองนี้ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเอชไอวีและโรคซึมเศร้าใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุ และผลกระทบของภาวะซึมเศร้าที่เกี่ยวข้องกับไวรัสเอชไอวี กลยุทธ์ในการจัดการโรคทั้งสอง และความสำคัญของการได้รับความช่วยเหลือ และการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
continue reading
ตรวจเอชไอวี

ANTI-HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน

ANTI-HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน
การตรวจ ANTI-HIV (แอนติบอดีเอชไอวี) หรือ HIV Antibody Test เป็นการตรวจ เพื่อหาแอนติบอดีที่เกิดขึ้นโดยตรงกับเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดของมนุษย์ โดยใช้เลือดของผู้ตรวจเป็นตัวอย่าง ซึ่งการตรวจเอชไอวีสามารถทำได้โดยใช้วิธีการตรวจแบบ ELISA (Enzyme-linked Immunosorbent Assay) หรือวิธีการวิเคราะห์หาโปรตีนโดยเทคนิค Western Blot ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และได้รับการยอมรับในการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี การตรวจสอบเอชไอวีจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ในบางกรณีอาจจะใช้เวลานานขึ้นกว่านี้ ระยะเวลาการตรวจเอชไอวีมีความสำคัญอย่างมาก ในการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วหรือไม่ การตรวจเอชไอวีเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยากรู้สถานะเอชไอวีของตัวเอง วิธีการตรวจ ANTI-HIV ทำงานอย่างไร? ในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสเองยากต่อการตรวจพบ การตรวจเอชไอวี จึงมักจะเน้นการตรวจการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส
continue reading
สุขภาพทางเพศ

ดูแลน้องชาย ให้มีสุขลักษณะที่ดี

ดูแลน้องชาย ให้มีสุขลักษณะที่ดี
การ ดูแลน้องชาย หรืออวัยวะเพศชายของเรา ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่แพ้กับผู้หญิงเลยทีเดียวนะครับ เนื่องจากอวัยวะเพศชายเป็นส่วนจำเป็นของร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ดังนั้น การดูแลน้องชาย และรักษาสุขภาพของอวัยวะเพศชาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก รู้จักอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศชาย คือ อวัยวะภายนอกที่ยื่นยาวออกมา มีขนาดรูปร่าง และสีที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อวัยวะเพศชาย ถือเป็นอวัยวะสำหรับสืบพันธุ์ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอาจแยกออกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เพลา และ ลึงค์ ซึ่งเพลาเป็นส่วนหลักของอวัยวะเพศชาย ลึงค์ เป็นส่วนปลายของอวัยวะเพศ ผู้ชายบางคนอาจขลิบออก อย่างไรก็ตาม อวัยวะเพศชายจะมีการขยายขนาด
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Pelvic Inflammatory Disease : PID คือ การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง เช่น มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีสาเหตุหลากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่มักจะมาจากการมีเซ็กส์ที่ไม่ปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคหนองในแท้ หรือหนองในเทียมที่บริเวณช่องคลอดและปากมดลูก และหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดโรคลุกลามไปยังระบบอื่นๆ บริเวณอวัยวะเพศได้ จากสถิติจะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีขึ้นไป อุ้งเชิงกราน คืออะไร อุ้งเชิงกราน คือส่วนบริเวณช่องท้องของร่างกายที่สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือกระดูกเชิงกรานขึ้นไป และส่วนที่อยู่ต่ำกว่ากระดูกเชิงกรานลงมา ส่วนที่อยู่ต่ำกว่านั้นเราเรียกว่า “อุ้งเชิงกราน”
continue reading
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

กามโรค อาการเป็นแบบไหน

กามโรค อาการเป็นแบบไหน
หลายคนสงสัยว่าถ้าหากติด กามโรค หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขึ้นมาแล้ว จะมีอาการประมาณไหนที่จะชี้ชัดไปได้เลยว่าเป็นโรคจริงๆ กามโรค จริงๆ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น โรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการทำรักทางปาก (Oral Sex) ก็ตาม ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการสัมผัสผิวหนัง บาดแผลที่มีเชื้อ เลือด หรือสารคัดหลั่ง ซึ่งในบางครั้งอาจถูกถ่ายทอดมาจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อกามโรค และทำให้เชื้อถูกส่งต่อไปยังทารกน้อยได้ กามโรค มีอาการแบบไหนบ้าง คนที่ติดเชื้อกามโรค อาจพบอาการที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ชนิดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับเชื้อมา และมักจะพบรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศ แล้วค่อยๆ ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายต่อไปหากไม่ได้ทำการรักษา ซึ่งบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ ปรากฏให้เห็นเลย จึงเป็นการยากที่เจ้าตัวจะรู้ว่าติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ อาการที่ถูกตรวจพบบ่อยๆ และสามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกามโรค
continue reading
1 2 3
Page 1 of 3